Tag Archives: book

all about my books.

ซื้อหนังสือ สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 47

  • เสือใบ โดย ป.อินทรปาลิต พิมพ์ครั้งที่ ๑ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. ๒๕๖๒ | สำนักพิมพ์แสงดาว
  • เสือดำ โดย ป.อินทรปาลิต พิมพ์ครั้งที่ ๑ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. ๒๕๖๒ | สำนักพิมพ์แสงดาว
  • ดาวโจร โดย ป.อินทรปาลิต พิมพ์ครั้งที่ ๑ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. ๒๕๖๒ | สำนักพิมพ์แสงดาว
  • ขุนช้าง ขุนแผน โดย ป.อินทรปาลิต พิมพ์ครั้งที่ ๒ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. ๒๕๖๒ | สำนักพิมพ์แสงดาว
  • ป.อินทรปาลิต ชีวิตของคนขายฝัน โดย เริงไชย พุทธาโร พิมพ์ครั้งที่ ๕ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. ๒๕๖๒ | สำนักพิมพ์แสงดาว
  • นิยายรักโศกของ ป.อินทรปาลิต และเบื้องแรกของ พล-นิกร-กิมหงาน โดย วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๖๑ | สำนักพิมพ์แสงดาว
  • จากจักรพรรดิสู่สามัญชน เขียนโดย อั้ยชิง เจี่ยวหรอ ฟู่อี้ แปลโดย พุพเรศ วินัยธร พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ | สำนักพิมพ์แสงดาว
  • GUT : the inside story of our body’s most under-rated organ โดย Giulia Enders | สำนักพิมพ์ Scribe Publications
  • เถลิงกษัตราธิราช บรมราชาภิเษก พระราชพิธีศักดิ์สิทธิ์ของแผ่นดิน โดย โรม บุนนาค | สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์

ด้วยวาระ ๕๐ ปีมตกาล ป.อินทรปาลิต สำนักพิมพ์แสงดาวได้จัดพิมพ์ผลงานยุคแรกของท่านใหม่อีกครั้ง จากที่ตั้งใจว่างานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งสั่งลาศูนย์ประชุมสิริกิติ์เดิมรอบนี้จะไม่แวะไป ทำให้ตัดสินใจทันทีว่าต้องรีบไปจัดหาหนังสือชุดนี้มาโดยพลัน ไม่รวมถึงถุงผ้าลายหน้าปกเสือใบและเสือดำจะสวยงามขนาดไหน

และยังมี ขุนช้างขุนแผน ฉบับร้องกรองที่ป.อินทรปาลิตแปลงจากบทประพันธ์ร้อยแก้วมาให้สำหรับอ่านง่ายขึ้น จัดพิมพ์ใหม่ในรูปเล่มปกแข็งควรแก่การสะสมยิ่ง รวมถึงหนังสือที่เล่าเรื่องราวชีวิตของท่านอีกสองเล่ม

พอมีรายงานซื้อเจ็ดเล่มลด 30% จัดหยิบเอา “จากจักรพรรดิสู่สามัญชน” ฉบับพิมพ์ครั้งใหม่มาร่วมด้วย แม้จะมีเล่มดั้งเดิมอยู่ด้วยแล้ว

ส่วนเล่ม GUT นี่พบโดยบังเอิญทั้งที่ตั้งใจจะไปหาเล่มอื่น ส่วนเล่ม “เถลิงกษัตราธิราชฯ” ก็เช่นกัน เข้ากับเหตุการณ์ตอนนี้ที่กำลังศึกษาเรื่องธรรมชาติบำบัดแนวทางใหม่และงานพระราชพิธีสำคัญของบ้านเมืองที่กำลังจะมาถึง

นอกจากหนังสือแล้ววันนี้ยังเลือกซื้อของใช้ให้ตัวเองเพิ่มเติมเพื่อรับการเปิดโลกทรรศน์ใหม่ที่กำลังจะมาถึงอีกด้วย

ซื้อหนังสือ มหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 21

  • THE COMPLETE PINK FLOYD โดย GLENN POVEY | สำนักพิมพ์ CARLTON BOOKS
  • หมอในกายในจิต เจ็ดวันแห่งการค้นพบหมอภายในตัวเรา เขียนโดย บี.เค. จันทรา เชคการ์ แปลโดย ธนิษฐา แดนศิลป์ | สำนักพิมพ์ ภารตะ
  • ครูเทพ ‘เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี‘ โดย ชลธิรา สัตยาวัฒนา และ คณะผู้เขียน | สำนักพิมพ์ ผีเสื้อ
  • ปวดฅอ ดูแลตัวเองด้วยกายภาพบำบัด โดย นักกายภาพบำบัด มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ | สำนักพิมพ์ ผีเสื้อ
  • ปวดหลัง ดูแลตัวเองด้วยกายภาพบำบัด โดย นักกายภาพบำบัด มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ | สำนักพิมพ์ ผีเสื้อ
  • ข้อเข่าเสื่อม ดูแลตัวเองด้วยกายภาพบำบัด โดย นักกายภาพบำบัด มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ | สำนักพิมพ์ ผีเสื้อ
  • เรื่องเล่าของอีสป โดย ผกาวดี อุตตโมทย์ เรียบเรียงจากต้นฉบับของ Sir Roger L’Estrange | สำนักพิมพ์ ผีเสื้อ
  • นิตยสาร ครัว ฉบับแม่บ้านญี่ปุ่นในบางกอก NO. 265 Vol. 23 JUL 2016 | สำนักพิมพ์ แสงแดด
  • ผู้จัดการ 360º รายสัปดาห์ 15 – 21 ต.ค. 2559 | สำนักพิมพ์ ผู้จัดการ
  • คาร์ล จุง ปรมาจารย์จิตวิทยา ศาสดาแห่งเรื่องลี้ลับ Introducing Jung เขียนโดย แม็กกี ไฮด์ แปลโดย ภูมิ น้ำวล | สำนักพิมพ์ มูลนิธิเด็ก
  • จิตวิทยาวิวัฒนาการ จาก กำเนิดสปีชีส์ ถึง ยีนเห็นแก่ตัว Introducing Evolutionary Psychology เขียนโดย ดิแลน อีวานส์ แปลโดย พงศ์มนัส บุศยประทีป | สำนักพิมพ์ มูลนิธิเด็ก

หนีความหดหู่อุดอู้ด้วยการออกมาเดินงานหนังสือเป็นทางออกที่ดีที่สุด เช่นเคยว่าตั้งใจจะหักห้ามใจให้ซื้อหนังสือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ บอกตัวเองว่าเล่มที่ซื้อไว้จากงานก่อนยังอ่านไม่หมดเลย

ตบะเริ่มแตกเมื่อมาถึงบูธ ASIABOOKS นั่นเพราะเจอหนังสือ THE COMPLETE PINK FLOYD ถ้าไม่ซื้อในงานนี้คงไม่มีส่วนลด ปลอบใจตัวเองไปอย่างนั้น แล้วการจับจ่ายก็เริ่มขึ้น

ผ่านบูธสารคดี มีหนังสือใหม่เล่มสำคัญทั้งสารานุกรมนก ผีเสื้อ และแมลง ตามด้วยพจนานุกรมเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ พร้อมรูปประกอบ ก็ต้องจากมาพร้อมหักห้ามใจ แล้วก็มาต่อที่บูธของ D.K. ที่มีหนังสือของสำนักพิมพ์ผีเสื้ออยู่บูธเดียว ได้ หมอในกายในจิต ที่เล็งไว้นานแล้วกับเล่มอื่นๆ

ออกจากเพลนนารีฮอลล์ไปยังโซนซี เจอเจ๊ตุ๊กมากับพี่สาวและหลานๆ กำลังหาหนังสือ มหาภารตะ อยู่ แยกกันแล้วถึงได้เจอที่บูธคลังวิทยาบูรพา เป็นเล่มแปลจากวรรณกรรมต้นฉบับ ก่อนนั้นก็ผ่านสำนักพิมพ์แสงแดด และติด ครัว เล่มที่เริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาอ่าน เพราะตอนที่วางแผง ยังไม่ได้สนใจเท่าไหร่ ตอนนี้คงผูกปิ่นโตรายเดือนกับแผงหนังสือกันหละ

ก่อนออกจากโซนซีก็แวะผู้จัดการได้ฉบับสุดสัปดาห์ที่แล้วมา ก่อนกลับนึกขึ้นได้เลยแวะสำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก เผื่อจะได้บัตรอวยพรปีใหม่ กลายเป็นว่าไม่เอามาในงาน แต่ก็ถามไถ่ที่ตั้งของสำนักพิมพ์ไว้แล้วเพราะอยู่ใกล้บ้านนี่เองและได้หนังสือแปลแนวจิตวิทยาชุด Introducing มาอีกสองเล่ม

ได้มาไม่มากไม่น้อย ตั้งใจว่าจะรีบอ่านให้จบ

ซื้อหนังสือ สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 44

  • นักลงทุนดันโด เขียนโดย โมห์นิช พาไบร แปลโดย พรชัย รัตนนนทชัยสุข | สำนักพิมพ์ วิสดอมเวิร์ค เพรส
  • คดีหนอนนิยาย โดย วินทร์ เลียววาริณ | สำนักพิมพ์ 113
  • วันเปลี่ยนชีวิต สมุดบันทึกการใช้ชีวิตอีก 365 วัน โดย วินทร์ เลียววาริณ | สำนักพิมพ์ 113
  • สารคดี ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๓๕๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ฉบับคิด เช่น ชาวนา
  • ไอแซก อาซิมอฟ ถาม-ตอบเรื่องโลกและจักรวาล เขียนโดย ไอแซก อาซิมอฟ แปลโดย อัญชนา อัศวาณิชย์ | สำนักพิมพ์ สารคดี
  • กำเนิดสปีชียส์ ฉบับปกแข็ง เขียนโดย ชาร์ลส์ ดาร์วิน แปลโดย ดร. นำชัย ชีววิวรรธน์ และคณะ | สำนักพิมพ์ สารคดี
  • The Art of Start 2.0 โดย Guy Kawasaki | สำนักพิมพ์ PORTFOLIO / PENGUIN
  • meatless : more than 200 of the very best vegetarian recipes from the kitchen of maths stewart living | สำนักพิมพ์ TRANSWORLD PUBLISHERS
  • คู่มือการใช้หินเกลือ โดย นิดดา หงษ์วิวัฒน์ | สำนักพิมพ์ แสงแดด
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูงแนวธรรมชาติบำบัด โดย นิดดา หงษ์วิวัฒน์ | สำนักพิมพ์ แสงแดด
  • อาหารต้านโรคความดันโลหิตสูง โดย นิดดา หงษ์วิวัฒน์ | สำนักพิมพ์ แสงแดด
  • มังสวิรัติบ้านคุณนิดดา โดย นิดดา หงษ์วิวัฒน์ | สำนักพิมพ์ แสงแดด
  • เหมือนจะแพ้ แต่ไม่แพ้ พิมพ์ครั้งที่ 14 โดย ธรรมจักร สร้อยพิกุล | สำนักพิมพ์ สร้างสรรค์บุ๊คส์
  • โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง 32 ปี ฉบับภาษาไทย
    รูปประกอบในเล่มพิมพ์ 4 สี ครั้งแรก เขียนโดย คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ แปลโดย ผุสดี นาวาวิจิต | สำนักพิมพ์ ผีเสื้อ

ได้รับคำสั่งซื้อหนังสือจากเพื่อนเลยรีบแวะไปจัดให้เป็นลำดับแรกเพราะว่าในบริเวณที่ตั้งของร้านหนังสือชื่อดังในงานสัปดาห์หนังสือจะหนาแน่นไปด้วยผู้คนเมื่อผ่านเวลาเปิดงานไปสักสามสี่ชั่วโมง

จากนั้นก็นึกขึ้นได้ว่าลืมกดเงินสดมาติดกระเป๋าไว้สำหรับซื้อหนังสือ ใจหนึ่งก็คิดว่าลองเดินเลือกซื้อแบบไม่จ่ายเงินสดเลยดูไหม แต่สิ่งสุดท้ายที่ต้องทำคือโอนเงินสำหรับสั่งจองหนังสือ ‘โต๊ะโตะจัง’ อยู่ดี อย่างไรก็จำเป็น เสียเวลาไปพอสมควรกว่าจะได้มา เพราะตู้กดเงินก็หยุดทำงานชั่วคราว แวะไปที่สาขาของธนาคารก็ต้องใช้สมุดบัญขีเพื่อทำรายการ สุดท้ายมาเจอตู้กดเงินที่กระดาษพิมพ์ใบบันทึกรายการหมด ก็ยังดีที่เบิกเงินได้

จากนั้นก็ตามหาหนังสือที่จดไว้อีกสองสามเล่ม ก็ได้มาตามลำดับในรายการข้างบน มาสะดุดที่บูธของเอเชียบุ๊คส์ ขายแบบซื้อ 1 แถม 1 เลยได้หนังสือราคาถูกเป็นพิเศษมาสองเล่ม

หนึ่งในสองเล่มนั้นเป็นหนังสืออาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์เลย รายการถัดมาเลยได้หนังสือของป้านิดเกี่ยวกับสุขภาพและอาหารมังสวิรัติเพิ่มเติม

ปิดท้ายด้วยหนังสือที่มีอิทธิพลต่อชีวิตที่ผ่านมาอย่างมาก อย่างที่เคยเขียนไว้ใน blog tag ข้อ 3 ถึงจะพิมพ์เป็นครั้งที่ 14 แล้ว แต่ก็พิมพ์ไว้นานเป็นสิบปีเห็นจะได้ นำมาลดราคา 80% เหลือเล่มละ 20 บาท จึงหยิบหนังสือทั้งกองออกมาเลือกเล่มที่สภาพดีๆ ได้มา 3 เล่ม จ่ายเงินไปพร้อมกับรับฟังคำตัดพ้อของคนจากสำนักพิมพ์ว่าสมัยนี้ใครๆ ก็อ่านและดูสื่อต่างๆ จากโทรศัพท์กับหมดแล้ว จึงเข้าใจได้ว่าหนังสือแนวจิตวิทยาพัฒนาตัวเองทำนองนี้คงมีโอกาสน้อยมากที่เล่มใหม่จะออกมาอีก

ผิดกับหนังสือแนวแนะนำให้คนลาออกมาหาเงิน ทำนองว่าถ้าอยากรวยให้ทำตามคำแนะนำต่างๆ เหล่านั้นกลับมีให้เห็นอย่างมากมาย สงสัยเหมือนกันว่าคนที่มีรักการอ่านเป็นคนที่มีปัญญา ทำไมยังไม่รู้ทันคนแต่งหนังสือแบบนี้ที่จะพ่วงตามมาด้วยการเสียเงินเข้าไปฟังเขาเล่าเรื่องบนเวที กระตุ้นด้วยสิ่งเร้าต่างๆ ให้มั่นใจว่าถ้าทำตามเขาแล้วจะรวยแน่นอน ที่เห็นแน่ๆ แล้วว่ารวยทันทีก็คือคนจัดงานนั่นแหละ อยากตะโกนดังๆ ว่าหยุดทำบาปด้วยการสร้างความหวังว่าจะรวยเสียทีเถอะ

ใครที่คิดว่าเงินเดือนประจำนั้นไม่พอใช้ ก็ลองลดรายจ่ายและเพิ่มเงินออมก่อน จากนั้นก็ลองหารายได้เสริมดูว่าจะไหวไหม ลองพิจารณาวัตถุต่างๆ ที่จ่ายเงินซื้อมาแล้วไม่เคยใช้หรือใช้ไม่คุ้มว่าควรจะเปลี่ยนเจ้าของดีกว่าเก็บไว้ดูเฉยๆ ไหม เพิ่มรายได้จากทางอื่นๆ ประกอบกับปรับเปลี่ยนนิสัยการบริโภคของตัวเองก่อนดีกว่าจะไปฝากความหวังรวยลมๆ แล้งๆ กับคนที่จะทำนาบนหลังคุณดีกว่าไหม

ปิดท้ายภารกิจโอนเงินเพื่อสั่งจองหนังสือ ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายามหาสาขาของธนาคารที่จะทำธุรกรรมอีก และก็สำเร็จทุกอย่างที่ตั้งใจกับรายจ่ายที่ไม่มากไม่น้อยไปกว่าปีก่อนๆ และสองในสามส่วนเป็นการจ่ายผ่านบัตรเครดิต

ซื้อหนังสือ สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 41

  • ปากไก่ ฉบับ 40 ปี สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ตุลาคม พ.ศ. 2554
  • ปากไก่ ฉบับ 11 ปีรางวัลนราธิป มกราคม พ.ศ. 2555
  • ปากไก่ ฉบับ 100 ปี อรวรรณ พฤษภาคม พ.ศ. 2555
  • ปากไก่ ฉบับ “นราธิป 2556” เดือนมกราคม-เมษายน 2556
  • สารคดี ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๓๓๗ มีนาคม ๒๕๕๖ ฉบับสถาปัตยกรรมสีเขียว
  • สถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาธิปไตย • ในทัศนะ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗, รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช โดย สันติสุข โสภณสิริ | สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก

งานนี้มีเจตนามาเดินอย่างเดียว ซื้อน้อยที่สุด ก็ทำได้ดังที่ตั้งใจอยู่ มี สารคดี ฉบับนี้ที่ตั้งใจว่าต้องหามาอ่านเนื่องจากกำลังทำงานเกี่ยวกับเรื่องบ้านประหยัดพลังงานอยู่พอดี ส่วนเล่มอื่นๆ นั้นก็ได้มาโดยบังเอิญ ยิ่ง ปากไก่ นี่คิดว่าเลิกผลิตไปแล้ว แต่ได้ความรู้ใหม่ว่าเป็นงานที่สมาคมฯ ต้องทำ แถมระยะหลังมีการปรับความถี่ในการผลิตให้บ่อยขึ้นอีกด้วย ส่วนเล่มสุดท้ายได้ฟังคุณสันติสุขและอ.พิภพมาเล่าข้อมูลให้ฟังในรายการ ‘คนเคาะข่าว’ แล้วด้วย พอเดินผ่านสำนักพิมพ์มูลนิธิเด็กจึงอดใจไม่ได้ ต้องสนับสนุนคนทำงานสักหน่อย

ก่อนเดินเข้าโถงหลักมีการจัดนิทรรศการ “100 หนังสือดีเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน” โดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) หยุดดูไม่นาน น้องผู้จัดก็พาแผ่นพับรายชื่อหนังสือทั้งหมดมาให้ งานนี้ดำเนินการโดย รศ.วิทยากร เชียงกูล ท่านเดิมและคณะ ผู้เคยจัดทำ หนังสือดี 100 ชื่อเรื่องที่คนไทยควรอ่าน (2541) และหนังสือดี 100 ชื่อเรื่องที่เด็กและเยาวชนควรอ่าน (2543) จนถึงครั้งนี้ในปี 2555

รายชื่อหนังสือแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามวัยได้แก่

  1. กลุ่มเด็กเล็ก วัยแรกเกิด-6 ปี
  2. กลุ่มเด็กโต วัย 6-12 ปี
  3. กลุ่มเยาวชน วัยรุ่น 12-18 ปี

หนังสือในกลุ่มที่ 3 นี้เอาเข้าจริงแล้วเด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่ก็อ่านดีเลยทีเดียว ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.qlf.or.th

ตอบคำถามเรื่องการจากไปของ Andres Moritz

Dear Friends,

Since the time of Andreas’ passing, we have received several emails from caring friends, colleagues and clients around the world asking to know more about the cause and circumstances of his crossing over.

It is our understanding that the cause of his death dates back to his serious health problems in early childhood.

At that time, the medical doctors in Germany diagnosed him as having juvenile rheumatoid arthritis and severe arrhythmia, amongst many other medical conditions. Unable to alleviate his ailments, and to the best of our understanding, the doctors did not give him much hope of surviving past his teen years or early adulthood; his life expectancy was short, and this is something Andreas has mentioned in several of his books and interviews.

Realizing that mainstream medicine was unable to help him, Andreas acknowledged that the only real chance he had of overcoming these chronic and debilitating health issues was to learn everything he could about how the human body truly functions. And so by the young age of 15, Andreas had begun to make a serious study of the human digestive system, experimenting with many different changes to his food intake and overall nutrition. He finally discovered that foods derived from animal (protein) sources were poisoning his body, and when he eliminated them, many of his symptoms disappeared.

His deep and unrelenting passion for learning more and more about human health, restoring one’s health naturally, and sharing this knowledge, wisdom and experience to help others around the globe remained the central focus and driving thrust throughout his life. Thanks to this, he soon discovered the liver and gallbladder flush (the one described in his books) to be the most effective approach – a natural, non-invasive healing modality that finally enabled him to restore his overall health and that of millions of people worldwide.

A couple of months before his transition, Andreas was exposed to insidious mold inhalation. This, with time, created complications that led to heart valve failure, which stemmed from his childhood “severe arrhythmia”. Understandably, Andreas refused to have invasive surgical treatments or procedures, living by his deep-rooted beliefs and supported by a calm, inner knowingness that his time on Earth was completed.

It is common knowledge that Andreas had totally transcended all fear of death. And that was his tranquil, fulfilled state of heart, mind and soul when he did pass over, with his beloved wife, Lillian, by his side.

ที่มา