Tag Archives: music

SHIRLEY BASSEY – This Is My Life (La vita)

This Is My Life (La vita)
ร้องโดย SHIRLEY BASSEY
ประพันธ์โดย Antonio Amurri / Bruno Canfora / Norman Newell

Funny how a lonely day, can make a person say:
What good is my life
แปลกดี ในวันแสนเหงาแบบนี้ ยังมีคนหนึ่งกล่าวว่า วันนี้ชีวิตฉันแสนดียิ่งนัก

Funny how a breaking heart, can make me start to say:
What good is my life
แปลกดี วันที่หัวใจแตกสลายแบบนี้ ฉันยังกล้าประกาศว่า วันนี้ชีวิตฉันแสนดียิ่งนัก

Funny how I often seem, to think I’ll find another dream
In my life
แปลกดี ฉันมักคิดว่าฉันจะตามหาฝันครั้งใหม่ในชีวิตนี้ได้

Till I look around and see, this great big world is part of me
And my life
และแล้ว ฉันมองไปรอบ ๆ จนพบว่าโลกที่ยิ่งใหญ่ดวงนี้ จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของตัวฉันและชีวิตฉันอีกด้วย

This is my life
นี่คือชีวิตของฉัน

Today, tomorrow, love will come and find me
ไม่วันนี้ ก็พรุ่งนี้ ความรักจะมาตามหาฉันเองจนพบ

But that’s the way that I was born to be
นั่นคือวิถีของฉันที่เกิดมา

This is me
นี่คือฉัน

This is me
นี่แหละตัวฉัน

This is my life
นี่คือชีวิตฉัน

And I don’t give a damn for lost emotions
ฉันจะไม่เสียเวลากับความรู้สึกแย่ ๆ เหล่านั้น

I’ve such a lot of love I’ve got to give
ฉันยังมีความรักอีกมากมายสำหรับแจกจ่ายให้คนอื่น

Let me live
ฉันต้องมีชีวิตต่อไป

Let me live
ฉันต้องอยู่ได้ต่อไป

Sometime when I feel afraid, I think of what a mess I’ve made
Of my life
บางครั้งเมื่อฉันรู้สึกกลัว ฉันอดคิดถึงสิ่งยุ่งเหยิงที่เคยสร้างไว้ไม่ได้

Crying over my mistakes, forgetting all the breaks I’ve had
In my life
ร้องไห้ให้กับความล้มเหลวเหล่านั้นของฉัน แล้วลืมทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยเกิดขึ้นในชีวิตฉันไปเสีย

I was put on earth to be, a part of this great world is me
And my life
ฉันได้เกิดอยู่บนโลกนี้ สิ่งยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกดวงนี้คือตัวฉันและชีวิตของฉัน

Guess I’ll just add up the score, and count the things I’m grateful for
In my life
จงมุ่งมั่นทำสิ่งที่ดีต่อไป สะสมความสุขใจในชีวิตของฉันต่อไปดีกว่า

This is my life
นี่คือชีวิตของฉัน

Today, tomorrow, love will come and find me
ไม่วันนี้ ก็พรุ่งนี้ ความรักจะมาตามหาฉันเองจนพบ

But that’s the way that I was born to be
นั่นคือวิถีของฉันที่เกิดมา

This is me
นี่คือฉัน

This is me
นี่แหละตัวฉัน

This is my life
นี่คือชีวิตฉัน

And I don’t give a damn for lost emotions
ฉันจะไม่เสียเวลากับความรู้สึกแย่ ๆ เหล่านั้น

I’ve such a lot of love I’ve got to give
ฉันยังมีความรักอีกมากมายสำหรับแจกจ่ายให้คนอื่น

Let me live
ฉันต้องมีชีวิตต่อไป

Let me live
ฉันต้องอยู่ได้ต่อไป

This is my life
นี่คือชีวิตของฉัน

This is my life
นี่แหละชีวิตของฉัน

This is my life
ใช่แล้ว นี่แหละชีวิตของฉัน

ข้อมูลเพิ่มเติม
This Is My Life (La vita) เป็นชื่ออัลบั้มของ Shirley Bassey ที่วางจำหน่ายในอิตาลีเมื่อปี ค.ศ. 1968 สังกัด United Artiests (รหัส UA 9035)

เมื่อปี 1968 Bassey ได้ขับร้องเพลง La vita ในงาน Sanremo Music Festival ที่อิตาลี เดิมทีเดียวเพลงนี้แต่งโดย Bruno Canfora ร่วมกับ Antonio Amurri ประพันธ์คำร้องภาษาอิตาเลียน สำหรับงานเทศกาลดนตรีครั้งนี้ ส่วนคำร้องภาษาอังกฤษประพันธ์โดย Norman Newell

วิวัฒนาการของเพลง La vita นั้น Newell ได้แต่งคำร้องภาษาอังกฤษสำหรับเนื้อเพลงภาษาอิตาเลียนและผลลัทธ์คือเพลง This Is My Life นี่เอง สำหรับเพลงภาษาอังกฤษนี้ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของ Bassey และมักขับร้องบนเวทีแสดงสดเป็นประจำหลังการอังกอร์

 

https://www.youtube.com/watch?v=jTmVfwdA8SU

 

Sheena Ringo 椎名林檎 – IT WAS YOU

Sheena Ringo 椎名林檎 – IT WAS YOU

Music and Lyrics by Burt Bacharach and Tonio K
Performed by Sheena Ringo and the Saitou Neko Quartet

You / you were the one
That I remember
It was you
And / I loved you true
And though you’ve gone away
In my heart I’ll always be with
You / so you should know
Although it’s over
It’s still you
Here / here in my heart
You’ll be a part of me
Part of me will always be with you…

No guarantees in life
Sometimes / love just / goes wrong
But that’s ok, / either way it’s worth it
Love’s still / my favorite song
And in the end / if the angels ask me
To tell them what love is
I’ll say it was you…

No guarantees in life
Sometimes / love just / goes wrong
But that’s ok / either way it’s worth it
Love’s still / my favorite song
And in the end / if the angels ask me
To tell them what love is
I’ll say it was you…

So you should know
Although it’s over
It’s still you
Here / here in my heart
You’ll be a part of me
Part of me will always be with you…
And you should know
Although you’ve gone ‘way
It’s still you
Here / here in my heart
Is where you’ll always be
Part of me will always be with you…

ข้อมูลเพิ่มเติม

Blackstar รับรางวัลแกรมมี 5 รางวัล

Blackstar by David Bowie

เดวิด โบวี จากไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2559 หลังวันเกิดครบ 69 ปีของเขาเองและวันที่อัลบั้มสุดท้าย Blackstar วางจำหน่ายเพียง 2 วัน

อัลบั้มนี้เข้าชิงรางวัลแกรมมีประจำปี ค.ศ. 2016 ที่จัดขึ้นในวันที่ 12 ก.ย. 2560 (ตามเวลาท้องถิ่น) ถึง 5 รางวัลและชนะทุกรางวัลดังนี้

Best Rock Performance
Blackstar
David Bowie
Track from: Blackstar / Label: ISO/Columbia Records

Best Rock Song
Blackstar
David Bowie, songwriter (David Bowie)
Track from: Blackstar / Label: ISO/Columbia Records; Publisher(s): Nipple Music admin. by RZO Music, Inc.

Best Alternative Music Album
Blackstar
David Bowie
Label: Columbia Records

Best Recording Package
Blackstar
Jonathan Barnbrook, art director (David Bowie)
Label: ISO/Columbia Records

Best Engineered Album, Non-Classical
Blackstar
David Bowie, Tom Elmhirst, Kevin Killen & Tony Visconti, engineers; Joe LaPorta, mastering engineer (David Bowie)
Label: ISO/Columbia Records

น่าสนใจที่ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ งานเพลงของเขาไม่เคยได้รับรางวัลนี้เลย แถมครั้งนี้ได้รางวัลด้านเอ็นจิเนียร์เสียด้วย ผมซื้ออัลบั้มนี้ทันทีจาก iTunes Store ที่ทราบข่าวการจากไปอย่างไม่มีวันกลับ คงได้เวลานำอัลบั้มที่ผ่านการ Mastered for iTunes นี้มาฟังอย่างพินิจพิเคราะห์ให้ถ้วนถี่อีกครั้งหนึ่งแล้ว

ข้อมูลเพิ่มเติม

 

Lady Maiko (2014)

Lady Maiko (2014)

ตามโมเนะจัง Mone Kamishiraishi มาจากหนังเรื่อง Chihayafuru ที่ฉายปีนี้ทั้งสองภาค ด้วยประทับใจการแสดงแม้เพียงเล็กน้อยของเธอในเรื่องนี้ จากนั้นก็ได้รู้ว่าเธอคือผู้พากษ์เสียงมิซึฮะ นางเอกในอนิเมะแห่งปีเรื่อง Kimi no wa na. หรือ Your name. แถมได้ฟังเพลงประกอบ Nandemonai ya ที่เธอร้องในรายการโทรทัศน์ด้วยแล้ว ยิ่งประทับการใช้เสียงของเธอไม่น้อยกว่าการแสดงเลย

ฟังมาว่าโมเนะจังได้รับเสียงชมเชยเรื่องการแสดงอย่างมากจากหนัง Lady Maiko จึงจดชื่อนี้ไว้หวังว่าจะได้ดูสักวัน และในที่สุด ‘ฝัน’ ก็เป็นจริงเมื่อมีคนแปลบทพูดเป็นภาษาไทยอย่างละเอียด รวมไปถึงเนื้อร้องของเพลงทุกเพลง แถมยังแทรกเกร็ดความรู้ต่างๆ ไว้ในฉากนั้นๆ มากมายอีกด้วย

วันขึ้นปีใหม่นี้จึงเหมาะจะได้นั่งลงดูหนังดีๆ สักเรื่อง

Lady Maiko เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ‘ไมโคะ’ ผู้ผ่านการฝึกฝนศิลปะด้านต่างๆ อย่างหนักจนชำนาญจึงจะได้แสดงต่อหน้าแขกผู้มาชม โมเนะจังเองก็ต้องผ่านรอบคัดเลือกนักแสดงที่มากถึง 800 คน กินเวลานานถึง 6 เดือน เพื่อแสดงเป็น “ฮะรุโคะ” สาวน้อยจากจังหวัด “คาโงะชิมะ” ผู้เดินทางมายัง “เคียวโทะ” เพื่อทำ ‘ความฝัน’ ที่อยากเป็นไมโคะให้เป็นจริง

เคียวโทะคือเมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่นที่ปัจจุบันยังคงรักษาวัฒนธรรมที่งดงามต่างๆ ไว้ได้เป็นอย่างดี จากที่ได้ดูในหนังจะพบว่าตั้งแต่ภาษา สำเนียง การออกเสียงสนทนา ไปจนถึงการพูดคุยปฏิสัมพันธ์ การดำเนินชีวิตประจำวันด้านต่างๆ ล้วนแฝงความภูมิใจของคนเคียวโทะผู้เกิดและเติบโตที่นี่อย่างมาก ใครที่ย้ายมาเพื่อทำหน้าที่การงานต่างก็ต้องพัฒนาตนเองให้กลมกลืนกับคนท้องถิ่นด้วย

หนังเปิดเรื่องมาไม่นานก็แทบปิดทิ้งเนื่องจากไม่นิยมหนังเพลงแบบฮอลลี่วู้ดเอาเสียเลย แต่น้ำเสียงใสกังวาลของโมเนะจังทำให้นักฟังเพลงอย่างผมต้องมอบโอกาสกับหนังเรื่องนี้ต่อไปอีกหน่อยและก็ไม่ผิดหวัง Lady Maiko ไม่ใช่หนังเพลงที่ดูแล้วเคอะเขินอย่างที่รังเกียจจริงๆ เนื้อเพลงที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินเรื่องได้ผสมกับการแสดงที่น่ารักและเป็นธรรมชาติทำให้ยิ่งเข้าใจประเด็นและรายละเอียดต่างๆ ที่หนังต้องการสื่อออกมาได้ทั้งหมด

หนังนำเสนอพัฒนาการของฮะรุโคะผ่านกิจกรรมการฝึกฝนอย่างหนักมากมายราวกับจะบอกว่าชีวิตไม่ว่าจะทำอะไรก็ย่อมต้องผ่านขั้นตอนเหล่านี้ก่อนทั้งนั้น และอุปสรรคทั้งด้านร่างกายและจิตใจก็จะแทรกเข้ามาทดสอบความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายของเราอยู่เนืองๆ หนังก็แทรกดรามาที่ทดสอบตัวฮะรุโคะไว้อย่างพอเหมาะพอดี โดยเรื่องราวของผู้คนรอบข้างต่างก็มีความหมายต่อชีวิตของฮะรุโคะทั้งนั้น ไม่มีใครด้อยไปกว่าใครตั้งแต่อาจารย์โฮชิ (Hiroki Hasegawa) ผู้เดิมพันชีวิตไว้กับการฝึกให้ฮะรุโคะเป็นไมโคะและลูกศิษย์ผู้เป็นลูกชายของไมโคะรุ่นใหญ่ที่เห็นด้านมืดของวงการนี้มาทั้งชีวิต และทุกคนที่ร้านชิโมะฮะชิเคน ที่ฮะรุโคะมาสมัครเข้าทำงาน

ฮะรุโคะผู้อาศัยอยู่กับตาและยายที่คาโงะชิมะ เป็นกำพร้าตั้งแต่เล็ก เห็นรูปแม่ในชุดไมโคะก็ต้องการเจริญรอยตาม และสุดท้ายก็ได้เปิดตัวเป็นไมโคะอย่างมีเกียรติ ณ วันที่ 24 มกราคม อึ้งเหมือนกันเพราะเป็นวันประวัติศาสตร์ที่ Apple เปิดตัว Macintosh สุดท้ายแล้วฮะรุโคะจะได้รู้ความลับอะไรเพิ่มเติมติดตามกันได้จากหนังเรื่อง Lady Maiko นี้

เป็นหนังฟอร์มเล็กที่สร้างได้ดี แต่ละฉากมีรายละเอียดเรื่องของวัฒนธรรมแทรกอยู่เสมอ เพลงที่แต่งขึ้นเพื่อประกอบก็ไม่เลี่ยน ฟังแล้วสนุกสนานและประทับใจทุกเพลง แม้ไมโคะต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนัก เป็นแล้วยังคงมีภาระหน้าที่ที่ไม่เบาไปกว่าตอนหัดเพื่อก้าวไปให้ถึง ‘เกโคะ’ หรือเกอิชาที่เราคุ้นเคย มีเกียรติและความท้าทายตัวตนคือหน้าที่สำคัญในการรักษาขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมนี้ไว้สืบต่อไป

หนังดีสำหรับสร้างกำลังใจและให้แง่คิดสำหรับปีใหม่เรื่องนี้ต้องขอบคุณ Pondloso FanSub ผู้จัดทำเพื่อประกอบการศึกษาและไม่หวังผลประโยชน์ทางการค้า จึงขอสะกดคำภาษาญี่ปุ่นต่างๆ ตามแบบคำบรรยายไทยในเรื่องนี้เป็นการคารวะ

ข้อมูลภาพยนตร์

  • Movie: Lady Maiko (English title)
  • Romaji: Maiko wa Lady
  • Japanese: 舞妓はレディ
  • Director: Masayuki Suo
  • Writer: Masayuki Suo
  • Producer: Ken Tsuchiya, Takao Tsuchimoto, Shintaro Horikawa
  • Cinematographer: Rokuro Terada
  • Release Date: September 13, 2014
  • Runtime: 135 min.
  • Genre: Comedy / Musical / Award Winning
  • Distributor: Toho
  • Language: Japanese
  • Country: Japan

ข้อมูลเพิ่มเติม

หนังของนักทรัมเป็ตแจ๊สในปีนี้

หลังจากที่ได้ดูหนังตัวอย่างอัตชีวประวัติของ Miles Davis ไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว วันนี้นั่งดูแอป Trailers บน Apple TV (4th Gen) ก็ได้พบกับหนังอีกเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน

Born to Be Blue (2016)

เรื่องราวชีวิตของ Chet Baker นักทรัมเป็ตแจ๊สร่วมสมัยอีกคนที่ดูแล้วไม่หวือหวาเท่าแต่ก็ฝากขื่อไว้ในวงการเพลงแจ๊สพอสมควร เพลงยอดนิยมของเขาคือ My Funny Valentines และ ORIS ผู้ผลิตนาฬิกากลไกได้สร้าง Oris Chet Baker Limited Edition ขึ้นเมื่อปี 2012 โดยมีเครื่องหมายบอกเวลาเป็นโน้ตดนตรีห้องแรกๆ ของบทเพลงนี้

ข้อมูลประกอบ

ส่วนเรื่องที่กล่าวไว้แล้วก่อนนี้คือ Miles Ahead (2016)

ความรู้สึกเมื่อแรกดูนั้นคือไม่น่าเชื่อว่าชีวิตของ Miles จะหวือหวาขนาดนี้

หนังอัตชีวประวัตินักดนตรีจากฮอลลี่วู้ดที่เจอส่วนใหญ่เป็นชีวิตของนักดนตรีผิวดำ คงเนื่องจากในสังคมของเขา คนกลุ่มนี้ต้องดิ้นรนต่อสู้ทุกอย่างเพื่อให้ได้แสดงศิลปะด้านดนตรีอย่างเต็มที่โดยไม่ถูกปิดกั้นจากอคติใดๆ แต่นักดนตรีแจ๊สที่นั่นเองก็ไม่ได้ผูกขาดว่าต้องผิวดำเท่านั้น แม้รากเหง้าที่พอจะรู้จักแนวดนตรีจะบอกว่าอย่างนั้น ก็อย่างที่เห็น ดนตรีไม่มีพรมแดนอย่างแท้จริง

ข้อมูลประกอบ

Chet Baker เป็นคนผิวขาว ส่วน Miles Davis เป็นคนผิวดำ ทั้งคู่อยู่ร่วมสมัยกันในยุคบ้านป่าเมืองเถื่อน ต่างฝ่ายต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน น่าสนใจว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้จะกล่าวถึงอีกฝ่ายอย่างไรบ้าง นอกจากความชัดเจนเรื่องจิตวิญญาณด้านดนตรีของทั้งคู่

ที่สำคัญคือเราจะได้ดูหนังทั้งสองเรื่องในปี 2016 เดียวกันนี้เสียด้วย พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง

แถมท้ายด้วยนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลงและนักดนตรีแจ๊สฝ่ายหญิงที่จะได้ดูอีกเรื่องในปีนี้เช่นกัน

NINA (2016)

จิตวิญญาณดนตรีที่เข้มแข็งต่างก็ต้องผ่านการต่อสู้มาแล้วทั้งนั้นจริงๆ

ข้อมูลประกอบ